หลังคาบ้านกันร้อน ควรใช้แบบไหนดี ที่เหมาะสมที่สุด

หลังคาบ้านกันร้อน ควรใช้แบบไหนดี ที่เหมาะสมที่สุด

หลังคาบ้านกันร้อนกับประเทศไทยเป็นของคู่กัน อย่างที่ทราบกันดีว่าแดดประเทศไทยเหมือนถูกไฟเผาก็ไม่ผิด ซึ่งประเภทของหลังคาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นหลังคาที่มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี เพราะนอกจากกันความร้อนให้แก่ตัวบ้านแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการประหยัดไฟได้เช่นเดียวกัน โดยบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับหลังคากันความร้อนว่ามีแบบไหนเหมาะสมบ้าง

ความสำคัญของหลังคาบ้านกันร้อน

ประโยชน์ทางอ้อมที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับหลังคากันความร้อนคือ หลังคาบ้านกันร้อนสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก โดยเฉพาะค่าไฟ เพราะหลังคาบ้านกันร้อนลดความร้อนอบอ้วนภายในบ้านลง และให้บ้านมีความเย็นมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์หรือพัดลมจำนวนมากให้เปลืองไฟ เพื่อคลายความร้อน

ความสำคัญของหลังคาบ้านกันร้อน

แต่กระนั้น ยังมีหลายคนคิดว่าหลังคาบ้านกันร้อนมีคุณสมบัติที่สามารถกันความร้อนได้เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว หลังคากันความร้อนยังมีความทนทานและความแข็งแรงอย่างมากด้วยเช่นกัน ทำให้หลังคาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการปกป้องตัวบ้านจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด ฝนตก หรือแม้แต่ลูกเห็บด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณสมบัติแต่ละชนิดของหลังคาบ้านกันร้อนขึ้นอยู่กับหลังคาและวัสดุที่ใช้ผลิตแต่ละประเภทด้วยเช่นกัน

หลังคาบ้านกันร้อน ใช้แบบไหนดี?

ในท้องตลาดมีหลังคาบ้านกันร้อนหลากหลายชนิดและประเภท ซึ่งมีคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่ใช้ผลิต โดยในบทความนี้เราจะแนะนำประเภทของหลังคาบ้านกันร้อนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มาดูกันดีกว่าว่าจะมีแบบไหนบ้าง!

  • หลังคาเมทัลชีท

หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet Roof) เป็นแผ่นเหล็กรีดบางหรือรีดลอน ผสมกับอะลูมิเนียมและสังกะสี ซึ่งมีจุดเด่นในด้านการกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ส่งผลในการประหยัดค่าไฟได้อย่างมาก อีกทั้งยังน้ำหนักเบา ไม่สร้างภาระหนักแก่โครงสร้างบ้านด้วย แต่กระนั้นข้อเสียของหลังคาเมทัลชีทคือ การกักเก็บเสียงได้ไม่ค่อยดี ทำให้เวลาฝนตกหรือการตกกระทบเกิดเสียงที่ค่อนข้างดังกว่าหลังคาประเภทอื่นอย่างมาก

  • หลังคาไวนิล

หลังคาไวนิล (Vinyl Roof) ทำมาจาก UPVC ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันรอยขีดข่วน หรือการป้องกันความร้อน ทั้งนี้ อายุการใช้งานของหลังคาไวนิลก็นานอย่างมาก ซึ่งสามารถใช้งานได้ 10 – 15 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม หลังคาไวนิลมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าหลังคาประเภทอื่น เพราะคุณสมบัติและวัสดุที่ใช้ผลิตมีคุณภาพพรีเมียม จึงทำให้ราคาของหลังคาสูงตามไปด้วย

(อ่านเพิ่มเติม : รวมทุกอย่างที่ควรรู้ ก่อนติดตั้งหลังคาไวนิล)

  • หลังคา UPVC

หลังคา UPVC (Unplasticised Poly Vinyl Chloride) เป็นวัสดุหลังคาที่ทำจากพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่แตกต่าง และไม่เสื่อมสภาพง่าย อีกทั้งยังไม่มีการเคลือบสารเสริมพลาสติก แต่เพิ่มสารเสริมอื่น ๆ แทนที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มความขาวอย่าง Titanium Dioxide และสารสะท้อนรังสี UV รวมทั้งยังมีสารเพิ่มความทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีอย่าง Complex Stabilizer ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เหมาะสำหรับการเป็นวัสดุสร้างหลังคาอย่างมาก

  • หลังคา APVC

หลังคา APVC (Anti-corrosive Composite Polyvinyl chloride resin) คือ แผ่นหลังคาที่ผลิตมาจาก UPVC ที่ไม่มีการเคลือบสารเสริมพลาสติกเหมือนกับหลังคา UPVC แต่ทดแทนด้วยการเพิ่มสาร Antioxidant และสารป้องกันรังสี UV จึงทำให้หลังคา APVC มีคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น และลดปัญหาเรื่องสีหลังคาที่ซีดเร็วได้ รวมทั้งอายุการใช้งานก็มากขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันและสะท้อนความร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะมีความหนาถึง 3 ชั้น พร้อมกับฉนวนกันความร้อนที่ติดตรงกลางแผ่นหลังคา

(อ่านเพิ่มเติม : หลังคา APVC คืออะไร?)

หลังคาบ้านกันร้อน ใช้แบบไหนดี

ฉนวนกันความร้อน เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนแก่บ้านมากยิ่งขึ้น

หลังคาบ้านกันร้อนเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันความร้อน แม้ว่าหลังคาบ้านกันร้อนแต่ละชนิดจะสามารถสะท้อนแสงแดดออกได้ แต่กระนั้นก็มีความร้อนผ่านหลังคาเข้าสู่ตัวบ้าน ส่งผลให้ภายในตัวบ้านร้อนได้อยู่ดี ดังนั้นแล้ว ควรใช้ฉนวนกันความร้อนควบคู่ไปด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจากแสงแดดที่สุด 

โดยหน้าที่หลัก ๆ ของฉนวนกันความร้อนคือการสะท้อนแสงแดดและความร้อนออกไป ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนสามารถช่วยลดความร้อนได้มากถึง 70% เลยทีเดียว ทำให้บ้านมีความเย็นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการประหยัดไฟได้ดีอีกด้วย โดยฉนวนกันความร้อนที่เป็นที่นิยมประกอบด้วย

แอร์บับเบิล (Air Bubble)

Air Bubble หรืออีกชื่อคือ Bubble Foil ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับแผ่นพลาสติกกันกระแทก โดยมีอากาศอยู่ตรงกลาง ซึ่งแอร์บับเบิลมีหน้าที่หลัก ๆ คือการป้องกันความร้อนและสะท้อนความร้อนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีแผ่นอะลูมิเนียมประกอบ 2 ด้านอยู่ด้วย แต่กระนั้น ข้อควรระวังคือ ควรหลีกเลี่ยงการเกิดประกายไฟ เพราะแอร์บับเบิบสามารถทำให้ไฟลามได้ค่อนข้างง่าย 

เส้นใยแก้ว (Fiberglass)

เส้นใยแก้วจะถูกห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งมีความสามารถในการป้องกันความร้อนและสะท้อนความร้อนได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้ง นอกจากจะสามารถกันความร้อนได้เป็นอย่างดีแล้ว ข้อดีของเส้นใยแก้วคือไม่ติดไฟง่าย และไม่ลามไฟ ต่างจากโพลีเอธิลีนโฟมที่ติดไฟได้ง่าย แต่กระนั้นการติดเส้นใยแก้วต้องเตรียมพื้นที่่สำหรับการกองเก็บพอสมควร เนื่องจากเส้นใยแก้วมีความหนามากกว่าประเภทอื่น

โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam-PE) : 

หรือที่รู้จักกันคือ ‘ฉนวนโฟม PE’ มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีอะลูมิเนียมฟอยล์ 1 หรือ 2 ด้านประกบกันแต่ละชั้นด้วยกาว ซึ่งสามารถนำไปติดได้ทั้งการวางใต้หรือบนแป, ใต้จันทัน หรือปูบนฝ้าเพดานก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ข้อควรระวังคือ โฟลีเอธิลีนสามารถติดไฟได้ง่าย และไฟลามได้ง่าย 

อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foii)

มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าบาง ๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่สะท้อนความร้อนได้เท่านั้น ไม่สามารถต้านทานความร้อนได้ จึงควรใช้ร่วมกับฉนวนประเภทอื่นควบคู่กัน โดยประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของอะลูมิเนียมฟอยล์สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงถึง 97% เรียกได้ว่าแทบจะทำให้บ้านไม่ร้อนได้เลย

บทสรุป

ในประเทศไทยที่มีสภาพอากาศร้อนจัดเป็นพิเศษ หลังคาบ้านกันร้อนจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพื่อปกป้องตัวบ้านจากรังสีความร้อน และลดความร้อนภายในบ้าน ส่งผลให้ช่วยประหยัดค่าไฟทางอ้อมได้อย่างมาก 

ซึ่งใครที่กำลังมองหาหลังคากันความร้อนที่ดีและมีคุณภาพ สามารถเข้าไปเลือกชมได้ที่เว็บไซต์ OZLO ROOF หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-043-3464

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *